จะรักให้ดีที่สุด flash

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โน้ตบุ๊กน้ำหอม

โน้ตบุ๊กน้ำหอม


โน้ตบุ๊กน้ำหอมอัสซุส รุ่น F6V Series เครื่องแรกของโลก
จอ 13.3 นิ้ว มีให้เลือก 4 สี 4 กลิ่น ได้แก่


สีชมพู - กลิ่นฟลอรัล บลอสซัม (Bloom (pink) with flower fragrance)




สีดำ - กลิ่นมัสกี้ แบลค (Extreme (black) with cologne-like )




สีเขียว - กลิ่นมอร์นิ่ง ดิว (Vital - green with grass-like fragrance )




และสีฟ้า - กลิ่นอควอ โอเชี่ยน (Surf- blue with ocean-like fragrance )



ประมวลผลด้วย Intel Centrino2 Processors
ระบบปฏิบัติการ Genuine Windows Vista Home Premium
กล้องเว็บแคม 1.3 ล้านพิกเซล เทคโนโลยีสแกนลายนิ้วมือ
เทคโนโลยีเพิ่มความคมชัดของภาพ
และเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่


(ภาพและข้อมูลจาก http://www.spotlightpcfashion.com/asusf.html และเดลินิวส์ )

โน้ตบุ๊กไม้ไผ่

โน้ตบุ๊กไม้ไผ่




(ภาพจาก www.guardian.co.uk)

คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของอัสซุส (Asus)
รุ่นแบมบู โน้ตบุ๊ก
จากไต้หวัน
บริเวณฝาปิดด้านนอกและตัวเครื่องด้านในทำจากวัสดุไม้ไผ่อัดขึ้นรูป
ตามแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซีพียูอินเทล คอร์ ทู ดูโอ
จอ 12 นิ้ว ฮาร์ดดิสก์ SATA 320 GB น้ำหนัก 1.65 กิโลกรัม





(ภาพจาก www.laptopsarena.com/)

เครื่องคอมพิวเตอร์กรอบไม้

“เจแปน ดีไซน์ 2008-อินโนเวชั่น” ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
เป็นงานเอกซโป ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรส่งเสริม
การออกแบบด้านอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น
(Japan Industrial Design Promotion Organiza-tion)

มีผลิตภัณฑ์เด่นที่ร่วมแสดงในงานนี้
ของ บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็มส์ บิสซิเนส (ประเทศไทย) จำกัด
ภายใต้แนว คิดของการออกแบบนวัตกรรมลดโลกร้อน ที่น่าสนใจ เช่น


เครื่องคอมพิวเตอร์กรอบไม้ “วู้ด เชลล์ (WoodShell)”
เป็นพีซีที่ใช้ไม้มาผลิตตัวเครื่อง และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก “FMV-BIBLO NX95Y/D”
ที่เริ่มวางตลาดแล้วในประเทศญี่ปุ่น
โดยใช้วัสดุการผลิตซึ่งเป็นพลาสติก ชีวภาพ
ที่มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ (bio-based plastic)



FMV-Biblo NX95Y/D แบบ “วู้ดเชลล์ (WoodShell)”


“วู้ดเชลล์ (WoodShell)” ประยุกต์เอาวัสดุจากธรรมชาติ
คือ ไม้ซีดาร์ (forest-thinned cedar)
และพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ ซึ่งย่อยสลายได้ง่าย
ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ มาใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วนและตัวเครื่อง
โดยต้นแบบของพีซีรุ่นนี้จะเป็นเครื่องมือแสดงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และมุ่งประโยชน์ใช้สอย และสไตล์ที่ไม่มีวัน ตกยุค


ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก รุ่น FMV-BIBLO NX95Y/D
ใช้พลาส ติกชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ (bio-based plastics)
วัสดุที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม
ที่จะช่วยลดภาระด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก
จาก ปิโตรเคมี (petrochemical-based materials) น้อยลง
เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ในปี 2002 ที่ผ่านมา ฟูจิตสึ เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายแรก
ที่พัฒนาพลาสติกซึ่งทำมาจากข้าวโพด
สำหรับใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี

แม้ว่าพลาสติกชีวภาพในยุคเริ่มต้น จะถูกใช้สำหรับชิ้นส่วนขนาดเล็ก ๆ ไม่กี่อย่าง
แต่ก็ได้ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบสนองความต้องการในการผลิตที่หลากหลายขึ้น
และเพิ่มสัดส่วนการใช้ในคอมพิวเตอร์

โดยโน้ตบุ๊ก รุ่น FMV-BIBLO NX95Y/D ใช้พลาสติกชีวภาพ
ในการผลิตประมาณ 30% ของวัสดุที่เป็นพลาสติกทั้งหมด.


(ข้อมูลจาก เดลินิวส์ ,www.fujitsu.com )

คอมพ์ใหม่ใช้ง่ายไม่ต้องแบก

คอมพ์ใหม่ใช้ง่ายไม่ต้องแบก
เอ็นเตอร์ไพร์ส โมบิลิตี้ คอมเพนี ซิมโบล เทคโนโลยี
ออกตัวสินค้าคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ เป็นโมบายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สวมใส่ข้อมือ หรือคาดเอวก็ได้
ช่วยให้ใช้งานง่าย สะดวกคล่องตัว ไม่ต้องแบกน้ำหนักมากกว่าเมื่อก่อน
โดยเฉพาะไฮเพอร์ฟอร์มานซ์สูง ในการทำงานและจัดการข้อมูล



ซึ่งเรียกคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ว่า Symbol's WT4000 series
แถมยังสั่งการโดยใช้เสียงได้ด้วย เป็นการออกแบบปรับปรุง
มาจากรุ่น MC3090 series of mobile computers
ให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงยิ่งขึ้น
เหมาะสำหรับโกดังเก็บสินค้าใหญ่ๆ ช่วยจัดหาผลิตภัณฑ์ได้ง่าย




ข้อมูลจาก มติชน, http://www.ocr.ca/

สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นแบบกันเองด้วยโปรแกมแฟลช

Flash เป็นโปรแกรมที่นิยมนำไปสร้างสรรค์ผลงานในด้าน Multimedia เช่น เว็บไซต์ เกม การนำเสนอผลงานเดิมที่โปรแกรม Flash ไม่ได้เป็นโปรแกรมสำหรับทำการ์ตูนโดยเฉพาะ แต่เราสามารถนำมาประยุกต์สร้างการ์ตูน 2 มิติ ได้ เพราะโปรแกรมมีคุณสมบัติและเครื่องมือมราอำนวยความสะดวกในการสร้างการ์ตูนอย่างครบครัน อีกทั้งยังสามารถวาดภาพได้อารมณ์การ์ตูนมากๆ ด้วย จึงทำให้ Flash เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่นักเรียนสร้างการ์ตูนนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ จนเกิดเป็นการ์ตูนที่โด่งดังหลายเรื่อง เช่น Pucca, Boomba, Ninja เป็นต้น ในประเทศไทยเองก็มีผลงานที่สร้างจาก Flash เหมือนกน เช่น การ์ตูนเรื่องสู้เพื่อฝัน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 การ์ตูนบุญโต หมูเพื่อซี้ และการ์ตูนไมเข้ (มิวสิควีดิโอประกอบรายการธรรมะ) ออกอากาศทางชื่อ DMC และ Magcartoon ที่เผยแพร่การ์ตูนเรื่องสั้นทางอินเทอร์เน็ต
หัวใจของการ์ตูนแอนิเมชั่น นอกจากการสร้างตัวละครให้น่าสนใจ และฉากที่สมจริงแล้ว การทำภาพนิ่งที่เราเตียมไว้ให้เป็นภาพเคลื่อนไหวที่คนดูเชื่อว่ามันมีชีวิตจริงๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ยังไงก็ขาดไม่ได้ กลวิธีมีมากมาย การได้ดูวิธีสร้างการ์ตูนของคนอื่นจะทำให้เรามีเทคนิคใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเอง การดูไฟล์ของคนอื่น ก็เหมือนได้แอบเข้าไปนั่งอยู่ในห้องทำงานของเขาในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่นั่นเอง มะ...มาดูนอกห้องกันก่อน ไว้สุดท้ายค่อย download ไปดูภายในห้องกันเนอะ


เดี๋ยวชายคนนี้จะเคลื่อนที่ไหวให้เราดูกัน แต่ตอนนี้เขายังไม่พร้อมที่จะนำมาทำแอนิเมชั่น ก่อนอื่นเราจะต้องแยกชิ้นส่วนของตัวละครกันก่อน





ในภาพด้านขวามือ เป็นการแยกแบบพอเพียง เอาแค่พอใช้ได้ในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ถ้าเราต้องการจะให้ส่วนของข้อมือหรือแขน กางหรือบิดในท่าอื่น เราต้องแยก แขนท่อนบน แขนท่อนล่าง และข้อมือด้วยชิ้นส่วนทั้งหมดที่แยกออกมานี้ ให้เป็น symbol ประเภท graphic หรือ movie clip ให้ registration point อยู่ตรงตำแหน่งที่เราจะใช้เป็นจุดหมุน และควรจะวางไว้คนละเลเยอร์ เพื่อสะดวกในการทำ animation เช่น แขนขวา เราต้องการจะให้เคลื่อนที่ขึ้นในท่ายกแขนขึ้นดูนาฬิกา registration point ควรจะอยู่ที่หัวไหล่ เป็นต้น




ส่วนหัวที่เป็น movie clip ชื่อ MHead movie clip ไว้ 2 ตัว คือ MBlink (ตากะพริบ) และ MMouth (ปากบ่นงึมงำ)


เราจะให้ชายคนนี้เป็นตัวละครที่รอใครสักคนมาเป็นเวลานานแล้ว ดูนาฬิการอบแล้วรอบเล่า ใครคนนั้นก็ยังไม่มา อ๊ะ อ๊า ง่ายล่ะสิ ถ้าทำง่ายๆ แต่ดูแล้วได้อารมณ์ว่ารอนานจริงๆ หงุดหงิดแล้วนะ ก็เรียกว่าสำเร็จล่ะ


เริ่มจากทำหัวก้มดูนาฬิกา และเงยขึ้น ก้มลงใหม่ แล้วเงยอีกครั้ง โดย 1. สร้าง keyframe (กด f6) ที่ frame 20 และ 28 2. ที่ frame 28 หมุนหัวให้ก้มลงตำแหน่งเหมือนดูนาฬิกา 3. คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 20 และ 28 เลือก Create Motion Tween 4. สร้าง keyframe ที่ frame 36 และ 43 5. ที่ frame 36 หมุนหัวให้เงยขึ้น frame 43 หมุนให้ก้มให้ก้มลงดูนาฬิกา 6. คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 36 และ 43 เลือก Create Motion Tween


ต่อด้วยการทำแขนยกนาฬิกาขึ้นดู เอาลง ยกขึ้นอีกครั้ง แล้วเอาลง โดย 1. สร้าง keyframe (กด f6) ที่ frame 15 และ 24 2. ที่ frame 24 หมุนแขนขึ้นในตำแหน่งที่รับกับส่วนหัวให้เหมือนกับยกแขนขึ้นดูนาฬิกา 3. คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 15 และ 24 เลือก Create Motion Tween 4. สร้าง keyframe ที่ frame 36 และ 43 5. ที่ frame 36 หมุนแขนขึ้น frame 43 หมุนแขนลง 6. คลิกขวาที่ frame ที่อยู่ระหว่าง frame 36 และ 43 เลือก Create Motion Tween

หากเราต้องการสร้าง keyframe ขึ้นมาใหม่โดยต้องการให้ภาพภายใน keyframe นั้น เหมือนกับ keyframe ก่อนหน้านี้ที่เคยมีมาแล้ว เราสามารถใช้วิธี Copy Frame โดยการคลิกขวาที่ keyframe ที่เป็นแม่แบบ เลือก Copy Frame (Ctrl+Alt+C) จากนั้น คลิกขวาที่ frame ที่ต้องการให้เหมือนแม่แบบ เลือก Paste Frame (Ctrl+Alt+V)

แค่หมุนขึ้นลง หมุนแขนขึ้นลง เราก็ได้ตัวละครชายขี้หงุดหงิด รอใครนานไม่ได้มาแล้ว จากนี้เราจะนำไปปรพกอบกับตัวละครอื่นในฉาก อาจจะเป็นฉากผู้หญิงอยู่ในห้องแต่งตัว กำลังแต่งหน้าอยู่หน้ากระจก ตัดภาพไปที่นาฬิกาแขวนผนังในห้องเธอ บอกเวลาว่าเลยเวลานัดมานานแล้ว ตัดภาพมาที่ชายคนนี้อีกครั้งจากยืนรอเป็นั่งรอ... แล้วแต่จะผูกให้เป็นเรื่องราวกันต่อไปตามจินตนาการของแต่ละคนจ้า จุดประกายไว้เพียงเท่านี้ก่อน

ถ้ายังไม่จุใจ มาดูกันต่อแถวๆ นี้เลย http://www.kirupa.com/developer/mx/cartoon.thm (download file ตัวอย่างข้างต้นไปดู) www.youtube.com (อย่าลืม search ทำนองว่า cartoon animation with flash หรือคำอื่นที่ใกล้เคียง) www.makermovies.co.uk/ http://www.hypergurl.com/blog/flash/flash-cartoons.html http://www.cartoonsolutions.com/store/cartalog/Free-Tutorials-sp-29.html http://www.onlinewebdirectory.com/flash-animation/animation_cartoon_flash_tutorial.html http://www.magcartoon.com/magcartoon.com/files/main.php

อ้างอิง
http://www.kirupa.com/developer/mx/cartoon.thml
Narin Roungsan สร้างการ์ตูน Animation ด้วย Flash. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2551.416 หน้า.

คอมพิวเตอร์เบื่องต้นทำอย่างไร

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ทำงานอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทใด ก็ย่อมมีหลักการทำงานที่ไม่แตกต่างกัน ดังนี้

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น


ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

เริ่มด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านทางอุปกรณ์ Input ชนิดต่างๆ เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้คีย์บอร์ด เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือ ใช้เครื่องสแกนเนอร์ สแกนข้อมูลเข้าไป เป็นต้น


ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการประมวลผลกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยการประมวลผลอาจจะมีได้หลายลักษณะ เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น และในส่วนของการประมวลผลจะทำการร่วมกันกับหน่วยความจำอีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของการประมวลผล


ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลข้อมูล(Output)

เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงผ่านทางอุปกรณ์แสดงผลที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแสดงผ่านทางจอภาพ(Monitor) และยังสามารถแสดงผลด้วยการพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์(Printer)ก็ได้

ประวัติคอมพิวเตอร์

ประวัติคอมพิวเตอร์ โดยสังเขป ลำดับจากวิวัฒนาการได้ดังนี้
- แรกเริ่มมนุษย์ดำเนินชีวิตโดยไม่มีการบันทึกสิ่งใด มาจนกระทั่งได้มีการติดต่อค้าขายของพ่อค้าชาวแบบีลอน(Babylonian) การจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบน clay tabletsจึงได้ถือกำเนิดขึ้น และอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวนระหว่างการติดต่อซื้อขายก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเช่นกัน อุปกรณ์คำนวณในยุคแรกได้แก่ ลูกคิด(abacus)ซึ่งก็ยังคงใช้กันต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติคอมพิวเตอร์
clay tablets (แผ่นดินเหนียว)


ประวัติคอมพิวเตอร์
ลูกคิด (abacus)


- ประวัติคอมพิวเตอร์ ดำเนินมาถึง ปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal (แบลส ปาสกาล) ได้สร้างเครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline

ประวัติคอมพิวเตอร์
Blaise Pascal

ประวัติคอมพิวเตอร์
เครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline


- ต่อมาในปี พ.ศ. 2215 เครื่องกล pascaline ของ Blaise Pasca ได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมโดย Gottfried Von Leibniz นักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันโดยเพิ่มสามารถในการ บวก ลบ คูณ หาร และถอดรากได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่าเครื่อง pascaline ที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติมเครื่องนี้มีความสามารถในการคำนวนแม่นยำเพียงใด


ประวัติคอมพิวเตอร์
Gottfried Von Leibniz


- ปี พ.ศ. 2336 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Charles Babbage ได้สร้างจักรกลที่มีชื่อว่า difference engine ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และและต่อมาก็ได้สร้าง analytical engine ที่มีหลักคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน จากผลงานดังกล่าว Charles Babbage ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์และเป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ประวัติคอมพิวเตอร์
Charles Babbage


ประวัติคอมพิวเตอร์
difference engine


ประวัติคอมพิวเตอร์
analytical engine


- ปี พ.ศ. 2439 Herman Hollerith ได้คิดบัตรเจาะรูและเครื่องอ่านบัตร

ประวัติคอมพิวเตอร์
Herman Hollerith


ประวัติคอมพิวเตอร์
บัตรเจาะรู


- จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2480 Howard Aiken สร้างเครื่องกล automatic calculating machine ขึ้น จุดประสงค์ของเครื่องกลชิ้นนี้ก็คือ เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งทาง electrical และ mechanical เข้ากับบัตรเจาะรูของ Hollerith และด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษาปริญญาและวิศวกรรมของ IBM ทีมงานของ Howard ก็ประดิษฐ automatic calculating machine สำเร็จในปี พ.ศ. 2487 โดยใช้ชื่อว่า MARK Iโดยการทำงานภายในตัวเครื่องจะถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติด้วย electromagnetic relays และ arthmetic countersซึ่งเป็น mechanical ดังนั้น MARK I จึงนับเป็น electromechanical computers

ประวัติคอมพิวเตอร์
Howard Aiken


ประวัติคอมพิวเตอร์
MARK I


- และต่อมา Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry ได้ประดิษฐเครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer) โดยใช้ หลอดสูญญากาศ (vacuum tubes)

ประวัติคอมพิวเตอร์
เครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer)


- ปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. ได้ร่วมกันพัฒนา electronic computer โดยอาศัยหลักการออกแบบบนพื้นฐานของ Dr. Atanasoff electronic computer เครื่องแรกมีชื่อว่าENIACแม้จะเป็นelectronic computer แต่ENIACก็ยังไม่สามารถเก็บโปรแกรมได้(stored program) จึงได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และท้ายสุดก็ได้พัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC(Universal Automatic Computer) ในเวลาต่อมา

ประวัติคอมพิวเตอร์
ENIAC


ประวัติคอมพิวเตอร์
EDVAC


ประวัติคอมพิวเตอร์
EDSAC


ประวัติคอมพิวเตอร์
UNIVAC


ในท้ายที่สุด หากจะจำแนกประวัติคอมพิวเตอร์ตามยุคของคอมพิวเตอร์(Computer generations) โดยแบ่งตามเทคโนโลยีของตัวเครื่องและเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล ก็สามารถจะจัดแบ่งตามวิวัฒนาการได้ 4 ยุคด้วยกัน คือ

ยุคแรกเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของหลอดสูญญากาศ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบบัตรเจาะรู

ยุคที่สอง เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของทรานซิสเตอร์ และการเก็บข้อมูลเป็นแบบเทป ลักษณะเป็นกรรมวิธีตามลำดับ(Sequential Processing)

ยุคที่สาม เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของไอซี(integrated circuit, IC) และการเก็บข้อมูลเป็นแบบจานแม่เหล็ก ลักษณะเป็นการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multiprogramming) และออนไลน์(on-line)

ยุคที่สี่ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีของวงจรรวมขนาดใหญ่ (Large-scale integration, LSI) ของวรจรไฟฟ้า ผลงานจากเทคโนโลยีนี้คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor ) กล่าวได้ว่าเป็น "Computer on a chip"ในยุคนี้

จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาต่อๆ กันมาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจกล่าวได้อีกว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมี การเคลื่อนไหวเสมอ(dynamics) แต่การรพัฒนาดังกล่าวกลับไม่ค่อยยืดหยุ่น(rigid)มากนัก เพราะหากเกิดความผิดพลาด ในกลไกเพียงเล็กน้อย บางครั้งก็อาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้การพัฒนาคอมพิวเตอร์ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง และขณะที่เครื่องทำงานอยู่นั้นมนุษย์จะไม่สามารถควบคุมได้

ประโยชนน์ของคอมพิวเตอร์

จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

  1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
  2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
  3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
  4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
  5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
  6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้

1. หน่วยเก็บ (Storage)

หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย

2. ความเร็ว (Speed)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed)
โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน

3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น

4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

การทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์
"

คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

1. จอภาพ (Monitor)

เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด

- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
จอแบบ CRT

การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron

ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย


- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
จอแบบ LCD

การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน


2. เคส (Case)

เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เคส (case)

3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Power Supply


4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Keyboard


5. เมาส์ (Mouse)

อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Mouse


6. เมนบอร์ด (Main board)
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Mainboard


7. ซีพียู (CPU)

ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้

2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
CPU


8. การ์ดแสดงผล (Display Card)

การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Display Card

หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร


9. แรม (RAM)

RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
SDRAM

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
DDR-RAM

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
RDRAM


โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM


10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน


- IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Harddisk แบบ IDE

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
IDE Cable



- SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Harddisk แบบ SCSI

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
SCSI controller



- Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Harddisk แบบ Serial ATA

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Serial ATA Cable



11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
CD-ROM


การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น


12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Floppy Disk Drive


ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น